หลายคนที่ดำเนินธุรกิจจนถึงเวลาที่จะเติบโตขึ้นแทนที่จะจ้างผลิตก็มีความคิดที่จะเปิดโรงงานเป็นของตัวเองเพื่อลดต้นทุนของกิจการ และมองไปข้างหน้าถึงมาตรฐาน ISO แต่อย่าพึ่งคิดไกลการจะสร้างโรงงานเองเรามามองที่ขั้นแรกกันก่อน การขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) หรือใบอนุญาตโรงงานผ่านกันก่อน
วันนี้ Wolf ISO จะมาแนะนำเริ่มจากความหมายของโรงงาน การแบ่งประเภท สถานที่ตั้ง ขั้นตอนการขอใบอนุญาตโรงงานมาฝากผู้ประกอบการที่อยากเปิดโรงงานแต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มกันยังไง ต้องเตรียมอะไรบ้าง
เปิดโรงงานต้องขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ยังไง
เราขออนุญาตจัดตั้งโรงงานเพื่ออะไร
ทำไมเราต้องขออนุญาตสร้างโรงงาน เหตุผลสำคัญอยู่ที่ข้อบังคับตามกฎหมายกำหนดขนาดเครื่องจักรขนาด 50 แรงม้า หรือจำนวนพนักงาน 50คนขึ้นไป สถานที่ตั้ง โครงสร้างอาคาร จะต้องขอใบอนุญาตโรงงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงเพื่อดูแลผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมตามเงื่อนไขที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด แต่จะมีโรงงานบ้างประเภทที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอใบอนุญาต
ทำความรู้จักประเภทของโรงงานที่ขอใบอนุญาต
ก่อนที่จะขอใบอนุญาตเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทโรงงานกำหนดในกฎกระทรวง วัดจากแรงม้าเครื่องจักร จำนวนพนักงาน ซึ่งตามกฎหมายได้จัดโรงงานได้เป็น 3 จำพวก ได้แก่
โรงงานจำพวกที่ 1 คือ กลุ่มที่ไม่ต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานแต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดจากกระทรวง มีเครื่องจักรไม่เกิน 20แรงม้า พนักงานไม่เกิน 20คน ประเภทโรงงานที่ดำเนินการ ฟักไข่โดยใช้ตู้อบ โรงงานน้ำตาลมะพร้าว เครื่องประดับ เป็นต้น
โรงงานจำพวกที่ 2 คือ ไม่ต้องขออนุญาตจัดตั้งโรงงานเหมือนกับจำพวกที่ 1 แต่จะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อนมีการจัดตั้งโรงงาน ยกเว้นกรณีโรงงานสร้างมลภาวะจะถูกจัดอยู่ในจำพวกที่ 3 ข้อกำหนดเครื่องจักรมีขนาดไม่เกิน 75 แรงม้า หรือพนักงานไม่เกิน 75 คน เช่น โรงงานน้ำแข็ง เป็นต้น
การขอใบรับแจ้งประกอบกิจการต่อเจ้าหน้าที่เราต้องเตรียมสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับบุคคลธรรมดา) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ลงลาแซนต์ชื่อกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจลวนาม วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน (สำหรับนิติบุคคล) แผนผังแสดงสิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณโรงงาน เอกสารอื่นๆ ตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด
โรงงานจำพวกที่ 3 คือ ตามกฎกระทรวงมีโรงงานหลายประเภทจัดอยู่ในกลุ่มนี้แบบไม่จำกัดจำนวนแรงม้าของเครื่องจักร จำนวนพนักงาน สาเหตุมาจากสร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม กับกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเครื่องจักรมากกว่า 75แรงม้า หรือจำนวนคนเกิน 75 คนผู้ประกอบการต้องขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เรียกง่าย ๆ ว่าใบ รง.4
การแบ่งจำพวกโรงงานขึ้นอยู่กับขนาดแรงม้าของเครื่องจักร จำนวนพนักงาน ผลกระทบต่อมลภาวะ เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการตั้งเข้าใจก่อนที่จะวางแผนสร้างโรงงาน
ห้ามตั้งโรงงานในสถานที่ไหนบ้าง
การหาสถานที่ตั้งโรงงานผู้ประกอบการต้องเข้าใจข้อห้ามของทำเลที่ตั้งก่อนไม่เช่นนั้นปัญหาที่ตามมาจะหาทางออกลำบาก การย้ายโรงงานโดยปกติไม่ใช้เรื่องที่จะทำได้ง่ายโดยเฉพาะหลังลงทุนการสร้างโรงงานไปแล้ว
- โรงงานทั้ง 3 จำพวก ห้ามตั้งบริเวณชุมชนที่พักอาศัย หมู่บ้าน อาคารชุด
- โรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ห้ามตั้งภายในระยะ 50 เมตรบริเวณพื้นที่สาธารณ เช่น แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากร หน่วยงานรัฐ โรงเรียน ศาสนสถาน เป็นต้น
- โรงงานจำพวกที่ 3 ห้ามตั้งอยู่ภายในระยะ 100 เมตร บริเวณเขตติดต่อสาธารณสถาน
ผู้ประกอบการที่จะเลือกที่ตั้งโรงงานทั้ง 3 จำพวกนี้ลองมองหากลุ่มนิคมอุตสาหกรรม นอกจากนั้น โรงงานทั้ง 3 จำพวก ควรตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสม มีอาณาบริเวณกว้างขวาง ไม่สร้างความเดือดร้อนรำคาญ และไม่ก่อให้เกิดเหตุอันตรายต่อบุคคล หรือทรัพย์สินของผู้อื่น ก่อนจัดตั้งและขอใบอนุญาต ก็อย่าลืมหาทำเลเหมาะๆ การขออนุญาตจัดตั้งโรงงานจะได้ผ่านฉลุย!
ขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานที่ไหน?
พื้นที่กรุงเทพมหานครผู้ประกอบการสามารถยื่นขอใบอนุญาตได้ที่ ศูนย์บริการสารพันทันใจ กรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดวันจันทร์ ถึงศุกร์ เวลา 08.30น.-16.30น. หรือยื่นเรื่องออนไลน์ ได้ที่ ระบบยื่นคำขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบบดิจิทัล (http://dsapp.diw.go.th/Login.aspx?ReturnUrl=%2f)
พื้นที่ต่างจังหวัดสามารถยื่นเรื่องได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรมของแต่ละจังหวัด สามารถขอคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ในขั้นตอนการยื่นเอกสาร
เตรียมเอกสารให้พร้อมขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4)
เอกสารที่ทางผู้ประกอบการต้องเตรียมสำหรับการยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง 4) เบื้องต้นตามรายการ บางครั้งทางเจ้าหน้าที่จะขอเอกสารเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับประเภทโรงงาน ให้เตรียมเอกสารเอาไว้ 3 ชุด
- ใบแจ้งการประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง 1) สำหรับโรงงานจำพวกที่ 2 / ใบคำขออนุญาต (ร.ง 3) สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3
- ต้องการขอในนามนิติบุคคล สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล คัดสำเนาไม่เกิน 3 เดือน
- ต้องการขอในนามบุคคลธรรมดา สำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน หรือหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- หนังสือมอบอำนาจ
- เอกสารสิทธิใช้ที่ดิน เช่น โฉนดที่ดิน หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เป็นต้น
- แผนผังอาคารโรงงาน ลงนามรับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุมผู้มีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร
- แผนผังแสดงการติดตั้งเครื่องจักร รับรองความปลอดภัยโดยวิศวกรควบคุมผู้มีใบอนุญาตจากสภาวิศวกร
- สำเนาหนังสืออนุญาตก่อสร้าง
- ขั้นตอนการผลิตโดยละเอียด
- เอกสารอื่นๆตามที่เจ้าหน้าที่กำหนด เช่น รายงานประเมินความเสี่ยง
ขั้นตอนการขอ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4)
เมื่อผู้ประกอบการเตรียมเอกสารเรียบร้อย เราสามารถนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นกับเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามจังหวัดที่ตั้งโรงงาน หรือยื่นเรื่องผ่านระบบยื่นคำขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานแบบดิจิทัล หลังยื่นเรื่องเจ้าหน้าที่จะใช้เวลาพิจารณา 30 วัน หากเกิดปัญหาไม่ได้รับการอนุมัติจากเจ้าหน้าที่ ผู้ประกอบการมีเวลา 30 วันในการยื่นเรื่องอุทธรณ์ให้พิจารณาใหม่
ปัญหาที่ตามมา ถ้าตั้งโรงงานโดยไม่ขออนุญาต?
ผู้ประกอบการที่เปิดโรงงานโดยไม่ทำเรื่องขออนุญาต เป็นการฝ่าฝืนโดยเจตนามีโทษตามกฎหมาย โรงงานจำพวกที่ 2 ไม่แจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับ 50,000 บาท แต่ถ้าแจ้งหน้าที่ไม่ครบปรับไม่เกิน 20,000 บาท โรงงานจำพวกที่ 3 จัดตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างที่บอกการขออนุญาตจัดตั้งโรงงานนั้นเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หากฝ่าฝืน ก่อตั้งโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุก 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนโรงงานจำพวกที่ 2 หากฝ่าฝืน ก่อตั้งโรงงานหรือดำเนินกิจการโดยไม่แจ้งให้เจ้าพนักงานรับทราบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นแล้ว ผู้ประกอบการ SME ที่อยากมีโรงงานเป็นของตัวเอง ควรดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อทำธุรกิจให้ราบรื่น ไม่สะดุดจะดีกว่านะคะ
มาตรฐาน ISO ทำไมโรงงานต้องมี
โรงงานของเราได้รับใบอนุญาตมาแล้วสิ่งต่อไปที่ต้องให้ความสำคัญคือ การขอมาตรฐาน ISO ลองคิดดูโรงงานของเราจะมีความเชื่อถือจากผู้บริโภคมากขนาดไหนเมื่อได้การรับรองมาตราฐานสากลที่ทั่วโลกยอมรับ ความปลอดภัยจากการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ISOเป็นเครื่องมือช่วยให้ลดต้นทุน ความผิดพลาด เพิ่มผลผลิต การขอมาตรา ISO ตัวไหนขึ้นอยู่กับธุรกิจจะมุ่งเน้นด้านใด เช่น ISO9000 มาตรฐานระบบบริหารงาน ISO14000 มาตรฐานการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
“หรือถ้าธุรกิจของใคร กำลังมองหาระบบจัดการเอกสารที่ได้มาตรฐาน ISO มาพร้อมคุณภาพ และราคาเป็นมิตร สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wolftcb.com/wolf-iso/ ระบบจัดการเอกสารจาก Wolftcb ที่มาในรูปแบบ Paperless ที่มาพร้อมการติดตั้งซอฟต์แวร์ ให้การจัดการธุรกิจของคุณเป็นเรื่องง่าย ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม”
อ้างอิง
https://www.diw.go.th/manual/fac/3.pdf
http://taxclinic.mof.go.th/pdf/62FAD954_0A30_293F_829F_B590DF0844CE.pdf